การทำบัญชีการเงิน Asset Statement
เนื้อหาสาระสำคัญของแผนทางการเงิน
ภาพถ่ายทางการเงิน
การจัดทำบัญชีทรัพย์สินและงบการเงิน Asset Statement
พี่ครับ วันนี้ผมมีรายงานเพิ่มเติมจากการวิเคราะห์ งบการเงินของครอบครัวพี่แล้ว ซึ่งมันเหมือนเป็นภาพถ่ายทางการเงินของพี่ ณ วันนี้เลยครับ เหตุผลที่จัดทำเพราะมีความจำเป็นในการวางแผนครับพี่
นี่คือบัญชี ทรัพย์สินของพี่ ณ ปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า งบดุล หรือ Balance Sheet
ซึ่งจะแสดงให้รู้ว่า พี่มีทรัพย์สินเท่าไร มีหนี้สินเท่าไร
หักกลบกันแล้ว เหลือเป็นของเราจริงๆเท่าไร
ทรัพย์สินรวม 3,027,989 บาท หนี้สิน 2,542,850 บาท
เมื่อหักกลบกันแล้ว จะเป็นความมั่งคั่ง 485,139 บาท ครับพี่ ช่วงก่อร่างสร้างตัว หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต ก็เยอะธรรมดา แต่มันก็ทำให้เราเป็นสุขได้ครับ
และนี่คือรายรับ รายจ่ายของครอบครัวพี่ หรือ Cash Flow
แยกได้ว่า รายจ่าย 62% เป็นรายจ่ายประจำ ที่ต้องจ่ายแบบแน่นอนต่อเดือนเลยนะครับ ส่วนรายจ่ายเรื่อยๆ ประเภทผันแปร มีอยู่ 27%
และมีการจ่ายออมอยู่ 1.47%
และเหลือเงินสดสุทธิ อยู่ 63.100 บาท
พี่เห็นความสำคัญของพี่หรือยังครับ รายรับทั้งหมดมาจากพี่คนเดียว แต่ภาระค่าใช้จ่าย ยังต้องรอใช้ความสามารถของพี่ ถ้าสมมุติว่าวันหนึ่งเราล้มลง ภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ทราบว่าใครจะมารับผิดชอบครับพี่
และนี่คือ อัตราส่วนทางการเงิน หรือ Fianancial Ratio
ของพี่ เมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล เป็นส่วนที่สำคัญมากครับ
เริ่มที่ อัตาราส่วนสภาพคล่อง ต่อหนี้สินระยะสั้น
หมายความว่า พี่มีเงินที่พร้อมใช้อยู่ 43000 แต่มีหนี้สินระยะส้ัน อยู่ 50,001 บาท ซึ่งหารกันออกมาแล้ว มันน้อยกว่า 1 แสดงว่าไม่เข้าเกณฑ์ครับ
ตัวที่ 2 เงินที่มีอยู่ หารด้วยค่าใช้จ่ายต่อเดือน คือ 43,000 หารด้วย 51,408 ได้ผลลัพท์ 0.84 เดือน
หมายความว่า ถ้าเราไม่ได้ทำงาน เงินที่มีอยู่ใช้ได้ไม่ถึงเดือนครับพี่ ซึ่งมาตรฐานต้องมี 3-6 เดือนเพื่อกันเหนียวครับ
หนี้สินเยอะครับพี่ 84% ซึ่งไม่ควรเกิน 50%
อัตราส่วนการออม พี่ได้ 10.75% ถือว่าสุดยอดมากครับ
ส่วนอัตราส่วนการลงทุน ก็เริ่มดีครับพี่ แต่มาตรฐานเขา มากกว่า 50% นะครับ
ไม่ทราบว่า มีตัวเลขตรงไหนที่คลาดเคลื่อนไหมครับ จะได้รีบแก้ไข
ปรึกษาการเงิน เห็นอะไรในนี้
ประการแรก ลูกค้ามีรายได้ทางเดียว และเป็นคนหารายได้คนเดียว ถ้าเกิด เจ็บป่วย ล้มตาย จะทำไง
ประการที่สอง ให้เอาทรัพย์สิน ลบ ด้วยหนี้สิน ว่าเหลือจริงเท่าไร พอที่เราจะช่วยบริหารจัดการได้หรือไม่ บางคน มีทรัพย์สิน 100 ล้าน มีหนี้สิน 105 ล้าน ติดลบ 5ล้าน
แต่คุณเดชา มีทรัพย์ 3ล้าน มีหนี้สิน 2ล้าน5 แสดงว่าเมื่อขายทรัพย์สินหมด ยังมีเหลือ 5แสน
ประการที่สาม เงินที่เรารู้ว่าลูกค้ามีเงินเท่าไหร่ ที่จะสามารถเอาไปบริหารจัดการ ไม่เกินนี้ ถึงจะมีเป้าหมาย สวยหรู หรือเลิศเลอแค่ไหน ก็ต้องอยู่ภายใต้ Net cash สุทธิ ถ้าไม่พอ ต้องบอกให้แปลงทรัพย์สินเป็นสภาพคล่อง ซึ่งยากที่จะดำเนินการ
Post a Comment