ประกันอัคคีภัย Fire
การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance)
การประกันอัคคีภัย เป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่ง โดยเป็นการประกันภัยทรัพย์สินที่ให้ความคุ้มครองแบบ “ระบุภัย (Named Peril)” กล่าวคือ ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเนื่อง มาจากภัยที่ระบุไว้เท่านั้น
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีทรัพย์สินที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ และอาจจะครอบคลุมสาเหตุอื่นๆ อีกตามแต่ที่จะกำหนดในกรมธรรม์ ซึ่งผู้ที่จะซื้อกรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัยได้จะ ต้องเป็นเจ้าของหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่ทำประกันภัยเท่านั้น
ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันได้
-
- บ้านอยู่อาศัย
- อาคาร ร้านค้า สำนักงาน โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน โกดัง ฯลฯ
- ทรัพย์สินภายในอาคาร เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร สต็อกสินค้า ฯลฯ
ทรัพย์สินที่ไม่รวมอยู่ในการประกันภัย (เว้นแต่ได้ระบุในกรมธรรม์โดยชัดเจน)
-
- สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์
- เงินแท่ง หรือเงินรูปพรรณ หรือทองคำแท่ง หรือทองรูปพรรณ หรืออัญมณี
- โบราณวัตถุหรือวัตถุสำหรับความเสียหายรวมส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท
- ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสาร แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ ลวดลายแบบ หรือแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์
- หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เอกสารสำคัญต่างๆ ไปรษณียากร อากรแสตมป์ เงินตรา ธนบัตร เช็ค สมุดบัญชี หรือสมุดหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจใด ๆ
- วัตถุระเบิด ไดนาโม หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจาก หรือเพราะการเดินเครื่องเกินกำลัง หรือได้รับกระแสไฟฟ้า เกินกำลัง หรือไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า เฉพาะเครื่องที่เกิดการเสียหายในกรณีดังกล่าว
ประเภทของการประกันอัคคีภัย
เพื่อตอบสนองความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยที่แตกต่างกัน จึงแบ่งประเภทของการประกันอัคคีภัย ออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย
การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย |
การประกันอัคคีภัยสำหรับสถานประกอบธุรกิจ |
ประเภทความคุ้มครอง
+
ขั้นตอนในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
+
การประกันอัคคีภัย | อ่านต่อ | |
องค์ประกอบเชิงวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมในพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัย | อ่านต่อ | |
โปรแกรมตรวจสอบจำนวนเงินเอาประกันภัยทรัพย์สิน (อาคาร,สิ่งปลูกสร้าง) | อ่านต่อ |
“ประกันอัคคีภัย” สำหรับที่อยู่อาศัย...มีประโยชน์อย่างไร
การประกันอัคคีภัย : หมายถึง การประกันภัยเพื่อความคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายของทรัพย์สินจากเพลิงไหม้ ฟ้าผ่า หรือ การระเบิดของแก็สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือการอยู่อาศัย รวมทั้งความเสียหายต่อเนื่องจากอัคคีภัย หรือบ้างก็เรียกว่า การประกันภัยทรัพย์สิน โดยการประกันภัยประเภทนี้จะมุ่งให้การคุ้มครองต่อตัวทรัพย์ของผู้เอาประกันภัย เช่น ตัวอาคาร บ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ ในอาคารบ้านเรือนต่างที่อาจมีความเสี่ยงจากการถูกไฟไหม้ แล้วอาจทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเสียหายจำนวนมากดังสุภาษิตที่ว่า ‘โจรปล้นร้อยครั้ง ก็ไม่เท่ากับไฟไหม้เพียงครั้งเดียว’ ซึ่งหมายความว่าการที่คนเราจะถูกโจรขึ้นบ้านถึงสิบครั้งหรือหลายสิบครั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นก็ยังน้อยกว่าการถูกไฟไหม้เพียงครั้งเดียว เพราะไม่เพียงแค่ทรัพย์สินเสียหายแค่นั้นแต่จะสูญเสียทั้งบ้านอาคารที่อยู่อาศัยไปด้วย จึงเห็นได้ว่าไฟไหม้ เป็นภัยอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ การประกันอัคคีภัย จึงเป็นการประกันวินาศภัยอีกประเภทหนึ่ง ที่มีคนทำประกันภัยภัยประเภทนี้กันมากพอสมควร
“บ้าน” เป็นสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายในชีวิตของหลายๆ คน และหลังจากที่เราได้บ้านมาครอบครองแล้ว สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ก็คือ การปกป้องสินทรัพย์นั้นไม่ให้สูญเสียไปจากภัยที่เข้ามากระทบ ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ การทำ ‘ประกันอัคคีภัย’ สำหรับที่อยู่อาศัย บางท่านอาจจะสงสัยว่าประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องทำหรือไม่ และเมื่อทำแล้วมีประโยชน์อย่างไร
กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจาก- ไฟไหม้ รวมถึงไฟไหม้ป่า พุ่มไม้ พงรก และการเผาป่าเพื่อปราบพื้นที่
- ฟ้าผ่า รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า
- การระเบิดทุกชนิด
- ภัยจากยานพาหนะ หรือช้าง ม้า วัว ควาย
- จากการชนโดยยานพาหนะต่าง ๆ (รวมถึงช้าง ม้า วัว ควาย)
- แต่ต้องไม่ใช่ยานพาหนะของผู้เอาประกันภัย
- ภัยจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน
- จากการชน หรือตกใส่
- ตัวอากาศยาน หรือของที่ตกจากอากาศยาน
- อากาศยาน ให้หมายรวมถึงจรวด และยานอวกาศด้วย
- ภัยเนื่องจากน้ำ
- เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ
- จากการปล่อย รั่วไหล ล้น
- จากท่อน้ำ ถังน้ำฯ รวมถึงน้ำฝนที่ผ่านเข้าทางอากาศที่ชำรุด
- แต่ไม่รวมถึงน้ำท่วม และท่อประปาที่แตกนอกอาคาร
เพื่อให้การประกันภัยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยสามารถเพิ่มความคุ้มครองพิเศษบางอย่างขึ้นได้ เช่น ความคุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้านจากการโจรกรรม ความคุ้มครองผู้อยู่อาศัยทั้งบุคคลภายนอกและคนในครอบครัว รวมถึงความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่นน้ำท่วมได้อีกด้วย
“สำหรับใครที่ซื้อบ้านโดยการใช้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน ทางสถาบันการเงินจะบังคับให้ทำ ‘ประกันอัคคีภัย’ สำหรับที่อยู่อาศัย
เพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่ขอสินเชื่อและสถาบันการเงินเอง แต่จะไม่สามารถบังคับให้ผู้ขอสินเชื่อทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยกับบริษัทประกันวินาศภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง
ทั้งนี้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยได้ด้วยตัวเอง”
การเลือกซื้อประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมี ‘บริษัทประกันวินาศภัย’ ที่นำเสนอประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ทุกบริษัทจะมี ‘ความคุ้มครองมาตรฐาน’ เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันใน ‘ความคุ้มครองเพิ่มเติมพิเศษ’ เราต้องดูว่า ความคุ้มครองพิเศษตัวไหนบ้างที่เราต้องการ หรือความคุ้มครองพิเศษตัวไหนบ้างที่เกินความจำเป็น แล้วเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจากบริษัทประกันวินาศภัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างแท้จริง เพื่อที่เราจะได้รับประโยชน์จากการทำประกันอัคคีภัยที่สอดคล้องกับความเสี่ยงภัยของเราการทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยที่ทุนประกันภัยต่ำว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะลดลงตามหลักการเฉลี่ย (หลักการเฉลี่ย หมายถึง ในกรณีที่จำนวนเงินเอาประกันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินจะถือว่าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันตัวเองในส่วนต่างนั้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนลดลงตามส่วน) เพราะฉะนั้นการทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ควรทำทุนประกันภัยไม่ต่ำว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินเพราะเมื่อเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน บริษัทประกันวินาศภัยจะชดใช้ค่าสินไหมเสมือนกับที่ได้ทำประกันไว้เต็มมูลค่าและความคุ้มครองของประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จะคุ้มครองเท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินทุนประกันภัย
“บ้าน” เป็นสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายในชีวิตของหลายๆ คน และหลังจากที่เราได้บ้านมาครอบครองแล้ว สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ก็คือ การปกป้องสินทรัพย์นั้นไม่ให้สูญเสียไปจากภัยที่เข้ามากระทบ ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ การทำ ‘ประกันอัคคีภัย’ สำหรับที่อยู่อาศัย บางท่านอาจจะสงสัยว่าประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องทำหรือไม่ และเมื่อทำแล้วมีประโยชน์อย่างไร
กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจาก
- ไฟไหม้ รวมถึงไฟไหม้ป่า พุ่มไม้ พงรก และการเผาป่าเพื่อปราบพื้นที่
- ฟ้าผ่า รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า
- การระเบิดทุกชนิด
- ภัยจากยานพาหนะ หรือช้าง ม้า วัว ควาย
- จากการชนโดยยานพาหนะต่าง ๆ (รวมถึงช้าง ม้า วัว ควาย)
- แต่ต้องไม่ใช่ยานพาหนะของผู้เอาประกันภัย
- ภัยจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน
- จากการชน หรือตกใส่
- ตัวอากาศยาน หรือของที่ตกจากอากาศยาน
- อากาศยาน ให้หมายรวมถึงจรวด และยานอวกาศด้วย
- ภัยเนื่องจากน้ำ
- เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ
- จากการปล่อย รั่วไหล ล้น
- จากท่อน้ำ ถังน้ำฯ รวมถึงน้ำฝนที่ผ่านเข้าทางอากาศที่ชำรุด
- แต่ไม่รวมถึงน้ำท่วม และท่อประปาที่แตกนอกอาคาร
เพื่อให้การประกันภัยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยสามารถเพิ่มความคุ้มครองพิเศษบางอย่างขึ้นได้ เช่น ความคุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้านจากการโจรกรรม ความคุ้มครองผู้อยู่อาศัยทั้งบุคคลภายนอกและคนในครอบครัว รวมถึงความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่นน้ำท่วมได้อีกด้วย
“สำหรับใครที่ซื้อบ้านโดยการใช้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน ทางสถาบันการเงินจะบังคับให้ทำ ‘ประกันอัคคีภัย’ สำหรับที่อยู่อาศัย
เพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่ขอสินเชื่อและสถาบันการเงินเอง แต่จะไม่สามารถบังคับให้ผู้ขอสินเชื่อทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยกับบริษัทประกันวินาศภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง
ทั้งนี้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยได้ด้วยตัวเอง”
การเลือกซื้อประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมี ‘บริษัทประกันวินาศภัย’ ที่นำเสนอประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ทุกบริษัทจะมี ‘ความคุ้มครองมาตรฐาน’ เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันใน ‘ความคุ้มครองเพิ่มเติมพิเศษ’ เราต้องดูว่า ความคุ้มครองพิเศษตัวไหนบ้างที่เราต้องการ หรือความคุ้มครองพิเศษตัวไหนบ้างที่เกินความจำเป็น แล้วเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจากบริษัทประกันวินาศภัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างแท้จริง เพื่อที่เราจะได้รับประโยชน์จากการทำประกันอัคคีภัยที่สอดคล้องกับความเสี่ยงภัยของเรา
การทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยที่ทุนประกันภัยต่ำว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะลดลงตามหลักการเฉลี่ย (หลักการเฉลี่ย หมายถึง ในกรณีที่จำนวนเงินเอาประกันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินจะถือว่าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันตัวเองในส่วนต่างนั้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนลดลงตามส่วน) เพราะฉะนั้นการทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ควรทำทุนประกันภัยไม่ต่ำว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน
เพราะเมื่อเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน บริษัทประกันวินาศภัยจะชดใช้ค่าสินไหมเสมือนกับที่ได้ทำประกันไว้เต็มมูลค่าและความคุ้มครองของประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จะคุ้มครองเท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินทุนประกันภัย
โดยการประกันอัคคีภัยนี้จะให้การคุ้มครองก็ต่อเมื่อ
1.ต้องมีการลุกไหม้เกิดขึ้นจริง ซึ่งข้อกำหนดนี้เป็นการให้การคุ้มครองภัยที่เกิดจากไฟ เป็นสำคัญ ดังนั้นโดยหลักการแล้ว ก็จะต้องมีการลุกไหม้เกิดขึ้น และการลุกไหม้นั้น ต้องเป็นการลุกไหม้ที่เกิดจากไฟและไฟนั้นจะต้องเป็นไฟที่มาจากการใช้งานปกติทั่วไป และ
2.ไฟที่ใช้งานปรกติแต่เกิดการลุกลามเกินขอบเขต หมายถึง ไฟที่เราใช้งานตามปกติเช่นไฟฟ้า ไฟจากการหุงต้มทำอาหาร ไฟจากเตาแก๊ส เตาแก๊สระเบิด ฟ้าผ่า แล้วทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามไปทำให้ทรัพย์สินเสีย และไฟที่ลุกไหม้นั้นก็จะต้องเป็นอุบัติเหตุ
3.ไฟนั้นต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ หรือ เหตุบังเอิญ คำว่าวินาศภัยนั้นหมายถึงภัยที่อุบัติขึ้นแล้วทำให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายซึ่งมีพื้นฐานมาจากอุบัติเหตุ ดังนั้นที่มาของไฟที่ลุกไหม้นั้นต้องมีที่มาจากอุบัติเหตุซึ่งหมายถึงเหตุการที่อุบัติขึ้นหรือเกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการคาดหมายหรือคาดการไว้ล่วงหน้าและเป็นเหตุที่ไม่แน่นอนกล่าวคือ มันจะเกิดขึ้นเมื่อไดไม่มีใครล่วงรู้ได้
โดยหลักการทั้งสามข้อที่กำหนดไว้นี้เป็นหลักการที่สำคัญซึ่งเมื่อทุกท่านตกลงทำประกันอัคคีภัยไว้แล้วเมื่อเกิดภัยขึ้นทางบริษัทประกันภัยก็จะมีการตรวจสอบและสืบสวน-สอบสวน ข้อมูลข้อเท็จจริงในการเกิดเหตุเพลิงไหม้นั้นว่าเข้าเงื่อนใขในสามข้อนี้หรือไม่ซึ่งเมื่อเข้ากับหลักการทั้งสามข้อนี้แล้วทางบริษัทผู้รับประกันภัยก็จะพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นว่าอะไรบ้างที่จะได้รับความคุ้มครองตามสัญญาซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องอ่านและทำความเข้าใจในกรมธรรม์นั้นด้วย
การประกันอัคคีภัยนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1. การประกันอัคคีภัยมาตรฐาน
เป็นการประกันอัคคีภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินที่เป็นมาตรฐานทั่วไป โดยกรมธรรม์ประกันภัยจะให้การคุ้มครองต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เกิดจาก
- ไฟไหม้ที่เกิดจากการกระทำของคนอื่น(ที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยหรือการรู้เห็นเป็นใจของผู้เอาประกันภัย)
- ฟ้าผ่า (เกิดขึ้นโดยตรงต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย)
- การระเบิดของแก๊สเพื่อการอยู่อาศัย
- ความเสียหายต่อเนื่องจากภัยเพิ่มเติม เช่น ความเสียหายจากน้ำที่ใช้ดับเพลิง ความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ความเสียหายจากระเบิดที่ระงับการขยายตัวของไฟ ความเสียหายจากควันหรือการถูกไฟลนจนเกรียม หรือทรัพย์สินที่สูญหายขณะเกิดหรือหลังจากไฟไหม้
ทั้งหมดนี้เป็นการให้การคุ้มครองตามมาตรฐานทั่วไปของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย แต่หากผู้เอาประกันภัยประสงค์ที่จะซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่กำหนดนี้ก็สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ประกอบด้วย
- ภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ น้ำท่วม ลูกเห็บ แผ่นดินไหว สึนามิ
- ภัยสังคม เช่น การจราจล การนัดหยุดงาน การกระทำที่มีเจตนาร้าย
- ภัยทางเคมี เช่น การระอุตามธรรมชาติ การระเบิดของหม้อน้ำ ฯลฯ
- ภัยอื่น เช่น ภัยจากอากาศยาน ภัยจากน้ำ ภัยจากควัน ฯลฯ
ทรัพย์สินที่จะสามารถเอาประกันภัยตามมาตรฐานนี้ได้
- ต้องเป็นสิ่งปลูกสร้าง ตัวอาคาร(ไม่รวมรากฐาน)
- เฟอร์นิเจอร์ สิ่งที่สร้างให้ติดตรึงกับอาคาร
- เครื่องจักร สต๊อคสินค้า เครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ฯลฯ
- ทรัพย์สินอื่นที่มีมูลค่าสูงเช่น คอมพิวเตอร์
สำหรับข้อยกเว้นที่กรมธรรม์จะไม่ให้การคุ้มครองได้แก่
• สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัย
• เงินแท่ง ทองแท่ง ทองรูปพรรณ อัญมณี และของมีค่า
• โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สำหรับความเสียหายรวมส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท
• ต้นฉบับเอกสาร แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ ลวดลาย แบบหรือแบบพิมพ์
• หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เอกสารสำคัญต่างๆ ไปรษณียากร อากรแสตมป์ เงินตรา ธนบัตร เช็ค สมุดบัญชี หรือ สมุดหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจใด
• วัตถุระเบิด และ ทรัพย์สินที่เสียหายหักพัง อันเนื่องจากการสั่นสะเทือนจากแรงการระเบิด
• เครื่องใช้ไฟฟ้า และ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
• ความเสียหายจากการเผาทรัพย์สินโดยคำสั่งเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่
• ภัยจากสงคราม การก่อการร้าย การจราจล กฎอัยการศึก
• การแผ่รังสี การระเบิดของสารกัมมันตรังสี
• ความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งเกิดขึ้นขณะที่มีการเรียกร้องจากการประกันภัยทางทะเลและขนส่งได้
2.การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย
การประกันอัคคีภัยประเภทนี้มุ่งให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินซึ่งเป็นที่อยู่ที่อาศัยซึ่งก็คือบ้านเรือนไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ อาคารตึกแถว คอนโดมิเนียม แฟลต ของผู้เอาประกันภัย
ประกันภัยที่เกิดจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า (รวมเครื่องใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้า) การระเบิด ความเสียหายจากยานพาหนะหรือสัตว์ ความเสียหายจาก อากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน และ ภัยเนื่องจากน้ำเช่น น้ำฝนตกหนักไหลเข้าหลังคาทำให้ฟ้า เพดาน เสียหาย แต่ทั้งนี้จะไม่รวมถึงภัยจากกรณีน้ำท่วม หากต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมกว่าที่กำหนดไว้นี้ก็ต้องมีการซื้อเพิ่มเติม เช่น
- ภัยธรรมชาติ : ลมพายุ น้ำท่วม ลูกเห็บ แผ่นดินไหว สึนามิ
- ภัยสังคม : การจราจล การนัดหยุดงาน การกระทำที่มีเจตนาร้าย
- ภัยทางเคมี : การระอุตามธรรมชาติ การระเบิดของหม้อน้ำ ฯลฯ
- ภัยอื่น : ภัยจากอากาศยาน ภัยจากน้ำ ภัยจากควัน ฯลฯ
ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันอัคคีภัยประเภทนี้ได้ก็ได้แก่
- สิ่งปลูกสร้าง ตัวอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย(ไม่รวมรากฐาน)
- ห้องชุด อาคารชุด แฟลต คอนโดมิเนียม
- ทรัพย์สินที่อยู่ภายในสิ่งปลูกสร้าง เฟอร์นิเจอร์ สิ่งที่สร้างให้ติดตรึงกับอาคาร เครื่องจักร สต๊อคสินค้า เครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ฯลฯ
- ทรัพย์สินอื่นที่มีมูลค่าสูงเช่น คอมพิวเตอร์
ข้อยกเว้นความคุ้มครองของการประกันอัคคีภัยประเภทที่อยู่อาศัย
- สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัย
- เงินแท่ง ทองแท่ง ทองรูปพรรณ อัญมณี และของมีค่า
- โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สำหรับความเสียหายรวมส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท
- ต้นฉบับเอกสาร แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ ลวดลาย แบบหรือแบบพิมพ์
- หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เอกสารสำคัญต่างๆ ไปรษณียากร อากรแสตมป์ เงินตรา ธนบัตร เช็ค สมุดบัญชี หรือ สมุดหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจใด
- วัตถุระเบิด และ ทรัพย์สินที่เสียหายหักพัง อันเนื่องจากการสั่นสะเทือนจากแรงการระเบิด
- เครื่องใช้ไฟฟ้า และ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
- ความเสียหายจากการเผาทรัพย์สินโดยคำสั่งเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่
- ภัยจากสงคราม การก่อการร้าย การจราจล กฎอัยการศึก
- การแผ่รังสี การระเบิดของสารกัมมันตรังสี
3.การประกันอัคคีภัยแบบพิเศษ
การประกันอัคคีภัยแบบพิเศษนี้เป็นการประกันภัยที่มีอัตราเบี้ยไม่สูงมากหรือมีการกำหนดเอาไว้ชัดเจนโดยจะให้การคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เกิดจากเพลิงไหม้ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
3.1. แบบชุมชนบ้านอยู่อาศัย
– คุ้มครองสิ่งปลูกสร้างของบ้านที่ตั้งอยู่ในชุมชนที่เกิดไฟไหม้
– จำกัดวงเงิน 20,000 บาท
– ค่าเบี้ยประกันภัย 365 บาทต่อปี
3.2. แบบประหยัด
– คุ้มครองสิ่งปลูกสร้างของบ้านที่เกิด ไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิด ความเสียหายจากยานพาหนะหรือสัตว์ความเสียหายจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน ภัยอันเนื่องจากน้ำ(ไม่รวมน้ำท่วม) ซึ่งเงื่อนไขจะให้การคุ้มครองคล้ายกับกรมธรรม์แบบมาตรฐานแต่ย่อส่วนลงมาเพื่อให้ผู้เอาประกันภัยสามารรถเอาประกันภัยได้ง่าย
โดยแบบนี้จะมีการจำกัดจำนวนเงินเอาประกันภัยและค่าเบี้ยปรันภัยเอาไว้อย่างชัดเจนคือ
แบบ ก. สิ่งปลูกสร้างที่เป็นอาคารคอนกรีต จะให้การคุ้มครอง 600,000 บาท
แบบ ข. สิ่งปลูกสร้างที่เป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ จะให้การคุ้มครอง 250,000 บาท
แบบ ค. สิ่งปลูกสร้างที่ ไม่ใช่ทั้งแบบ ก หรือแบบ.ข. จะให้การคุ้มครอง 150,000 บาท
โดยผู้เอาประกันภัย จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย 600 บาทต่อปี
ทั้งสามประเภทของการประกันอัคคีภัยก็ขึ้นอยู่กับผู้เอาประกันภัยเองครับว่าจะทำประกันภัยแบบไหนซึ่งเดี๋ยวนี้เบี้ยประกันภัยอัคคีภัยก็ไม่สูงมากแล้ว บางบริษัททำประกันภัยแบบคุ้มครองต่อเนื่อง 3 ปี 4 ปี 5 ปี หรือมากกว่านี้ก็มี โดยการจ่ายเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวก็จะถูกกว่าแบบปีต่อปีไปอีกทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทุกท่านนะครับที่สำคัญคือการประกันภัยนั้นมีไว้ดีกว่าไม่มีนะครับ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในอนาคตนั้นจะเกิดอะไรขึ้นเพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน อย่าลืมนะครับกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อได้รับไปแล้วต้องอ่านและทำความเข้าใจนะครับว่า เงื่อนไขกรมธรรม์ หมวดทั่วไปว่าอย่างไร หมวดความคุ้มครองว่าอย่างไร หมวดข้อยกเว้นความคุ้มครองว่าอย่างไร เราจะได้รู้เรื่องประกันภัยของเราเป็นอย่างดีนั่นเอง
Post a Comment